Sunday, October 22, 2006

ป้องกันโรคหัวใจ

ในภาวะเศรษฐกิจขาลงเช่นนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแพงขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนก็ตาม ผลดีคือเป็นการเตือน ให้เราคิดถึงการป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น ความเป็นจริงแล้วใครๆก็รู้ว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่น่าเสียดายที่โรคบางโรคตัว เราเองมีส่วน ช่วยส่งเสริมให้เกิดขึ้น เช่น โรคเอดส์ กามโรค โรคอ้วน เป็นต้น แม้ว่าโรคหัวใจ ขาดเลือดเกิดจากความเสื่อมของร่างกายแต่ก็เป็นโรคหนึ่งที่พฤติกรรม ของเรามีส่วนทำให้เกิดโรคเร็วขึ้น

โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร

กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้อทั่วไปคือต้องการเลือดไปเลี้ยงโดยผ่านทางหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าหลอดเลือด โคโรนารีย์ ซึ่งมีขนาดเล็กมาก เมื่อหลอดเลือดนี้เกิดการตีบ หรือ ตัน ไม่ว่าจากสาเหตุใดๆก็จะเกิดกลุ่มอาการของโรคที่เรียกว่า “โรคหัวใจขาดเลือด” ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อ หัวใจตาย ผลตามมาคือภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจนกระทั่งเสียชีวิต

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเกิดจากไขมันโคเลสเตอรอล และหินปูน (แคลเซียม) ไปสะสมอยู่ในผนังด้านใน ของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไม่สะดวก กล้ามเนื้อหัวใจขาดอาหารและออกซิเจน จึงเกิดอาการ เจ็บแน่นหน้าอก หากหลอดเลือด อุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย ซึ่งเป็นการสูญเสียอย่างถาวร

เมื่อเราเกิดมาหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจยังสะอาดอยู่ ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้น รับประทานอาหารที่ล้วนแต่อุดมไปด้วยไขมัน ไขมันเหล่านี้ จะเริ่มไปสะสมที่หลอด เลือดทั่วร่างกาย แต่ที่จะเกิดปัญหามากในอนาคตคือหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ขบวนการสะสมนี้ใช้เวลานับสิบๆปี กว่าจะทำให้เกิดอาการ การศึกษาศพทหาร อเมริกันที่เสียชีวิตในสงครามเวียดนาม ทหารเหล่านี้อายุยังน้อย แต่พบว่าเกิดการสะสม ของไขมันในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจขึ้นแล้ว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

การศึกษาจากประเทศตะวันตกพบว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ได้แก่ อายุ (เพราะเป็นโรคของความเสื่อมด้วย) เพศชาย (ฮอร์โมนเอส โตรเจนในเพศหญิงช่วยป้องกันโรคนี้) พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมันโคเลสเตอรอล เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และความเครียด ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยง เหล่านี้มากข้อก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากเป็นทวีคูณ

ป้องกันอย่างไรดี

เมื่อดูจากปัจจัยเสี่ยงจะเห็นว่าบางข้อเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น เพศ อายุ พันธุกรรม เป็นต้น แต่หลายข้อสามารถหลีกเลี่ยงได้ คำแนะนำในการป้องกัน โรคหัวใจขาดเลือดมีดังนี้

หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง

ไขมันโคเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ สมอง แต่หากมีไขมันนี้ มากเกินไปจะเกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดได้ ไขมันที่ร้ายที่สุดคือโคเลสเตอรอลชนิด แอล-ดี-แอล ในทางกลับกันไขมันโคเลสเตอรอล ชนิด เอช-ดี-แอล เป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ปัจจุบันเราแนะนำให้ ควบคุมระดับไขมันโคเลสเตอรอล ในเลือดไม่ให้เกิน 200 แอล-ดี-แอล ไม่เกิน 130 และ เอช-ดี-แอล ควรมากกว่า 35 (ยิ่งมากยิ่งดี) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันโคเลสเตอรอลส่วนใหญ่มาจาก ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว (น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น รำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ไม่มีโคเลสเตอรอล) ดังนั้นหลักสำคัญ ของการลดระดับไขมันในเลือดคือการ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เราเห็นๆว่ามีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนื้อติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ข้างขาหมู ข้าวมันไก่ กะทิ เนย พิซซา เบอร์เกอร์ เป็นต้น โคเลสเตอรอลยังมีมากในเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ไข่แดงจากไข่ทุกประเภท (แต่ไม่พบในไข่ขาว) อาหาร ทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม มันปู การรับประทานมังสะวิรัติ หรือแม้กระทั่ง “เจเขี่ย” ก็ช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอล ได้ดี แต่ไม่ควร รับประทานไข่แดงเกิน 2 ฟองต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นอาหารประเภทที่มีกากมาก เช่น ข้าวกล้อง ข้าว ซ้อมมือ ซีเรียล ผลไม้ ก็มีส่วนช่วยลดการดูดซึม ของไขมันเช่นกัน ไขมันเอช-ดี-แอลอาจเพิ่ม ให้สูงได้โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่าง สม่ำเสมอ แม้ว่าการดื่มไวน์ หรือแอลกอฮอล์ (ทุกประเภท) ในปริมาณน้อยๆ (1-2 แก้วต่อวัน) จะช่วยหัวใจ โดยเพิ่มไขมัน เอช-ดี-แอล แต่ความเป็นจริงแล้วผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อระบบอื่นๆมีมากกว่าผลดีมาก จึงไม่มีแพทย์ท่านใด แนะนำให้ดื่มไวน์เพื่อ ป้องกันโรคหัวใจ

เลิกบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่หรือแม้แต่ผู้ได้รับควันบุหรี่สม่ำเสมอโดยไม่ได้สูบเอง ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากขึ้น การสูบบุหรี่ยังเสี่ยง ต่อการเกิดโรคอื่น อีกมากมาย ทั้งๆที่รู้ว่าอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น แต่ก็ยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่อีกมาก การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะไม่ใช่ สิทธิส่วนตัวแต่ประการใด เนื่องจาก ควันบุหรี่ไปทำอันตรายต่อผู้อื่นด้วย หากเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด พบว่าโอกาสเสี่ยงจากโรคหัวใจ ขาดเลือดจะลดลงเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้น แม้คุณจะเกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเลิกบุหรี่

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายที่ได้ประโยชน์ต่อหัวใจคือการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หมายถึงการออกกำลังกายต่อเนื่อง เป็นจังหวะ หายใจ สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวต้องทำต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์จึงจะเป็นประโยชน์ต่อหัวใจ แม้ว่ากีฬาบางชนิด เช่น กอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส จะเป็นการออกกำลังกายที่ดี แต่ไม่ใช่ชนิดแอโรบิค การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอจะ ช่วย ให้ไขมันชนิดดี คือ เอช-ดี-แอล สูงขึ้น ไขมันชนิดนี้ ช่วยลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ผลดีอย่างมากของการออกกำลังกายคือช่วยให้จิตใจ แจ่มใส ไม่แก่เร็ว หุ่นดี ระบบขับ ถ่ายปกติ และทำให้ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้นด้วย คุณควรเลือกชนิดการออกกำลังแบบแอโรบิคที่ เหมาะสมกับคุณ

ควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น ผลดังกล่าวเกิดขึ้นกับหลอดเลือดทั่วร่างกาย แต่ที่จะมีปัญหามาก ก็คือหลอดเลือดที่ตา ไต สมอง และหัวใจ เป็นต้นเหตุสำคัญของอัมพาต ไตวาย และโรคหัวใจขาดเลือด การควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยชลอการดำเนินโรคได้ ดังนั้นท่านควรควบคุมอาหาร รับประทานยาตาม คำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

ทำจิตใจให้ผ่องใส

บุคคลที่มีบุคลิกภาพโกรธ ฉุนเฉียวง่าย ทำงายแข่งกับเวลา อยู่กับความเครียดตลอด พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และยังเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว ดังนั้นหากทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส มองโลกในแง่ดี ทำสมาธิ อาจช่วยได้ ผลดีอื่นๆที่ตามมา คือสุขภาพจิตดี มนุษยสัมพันธ์ดี ทำให้มีชีวิตอย่างมีความสุข

ทั้ง 5 ประการเป็นเรื่องที่ พูดง่าย แต่ทำยาก เนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งปรับได้ยากในผู้ใหญ่ จริงๆแล้วไม่ยาก เกินความสามารถของทุกคน แต่ต้องมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำก่อน บุคคลรอบข้าง เช่น ครอบครัว ละเพื่อน ก็มีส่วนสำคัญมาก ที่จะช่วยให้สำเร็จ (หรือล้มเหลว) สิ่งที่ทำง่ายกว่า คือเริ่มปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก ให้รู้จักเลือกรับประทาน (แต่ไม่ใช่ เลือกมาก) ไม่สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจ ให้แจ่มใส หากเด็กไทยทำได้เช่นนี้ เชื่อว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้าโรคหัวใจขาดเลือดและโรคอื่นๆควรจะลดล

0 Comments:

Post a Comment

<< Home