Sunday, November 05, 2006

สร้างภูมิคุ้มกัน

หันมาบริโภคผัก ไม่ทานเนื้อสัตว์ ทานแต่ไข่ แล้วก็ Natto อิอิ ก็คือถั่วเน่านั่นเองอยากบอกว่าไม่อร่อยเลยแต่พอทานไปได้สักอาทิตย์ก็รู้สึกว่า ที่ปวดตรงราวนมน่ะมันหายไป ตอนนี้ก็เลยบ้าทานน้ำผัก นมเปรี้ยว yogurt และทานผักต่างเยอะเลย ซึ่งก็รู้สึกว่าตัวเองดีขึ้นเห็นได้ชัดเลย ก็เลยอยากให้เพื่อนๆลองหันมาทานผัก และ ผลไม้กันเยอะๆน่ะครับ แล้วคราวหน้าจะเอาวิธีการทำ Natto และประโยชน์ของมันมาฝาก
เสียงหัวเราะ และ อารมณ์ที่ดีและแจ่มใส่ ไม่ต้องแปลกใจเลยครับเพราะการวิจัยที่ UCLA’s Johnson Cancer Center ที่อเมริกาได้วิจัยมาแล้วได้ตั้งชื่อการทดลองนี้ว่า Rx Laughter แหมชื่อก็บอกว่ามีแต่เสียงหัวเราะแน่ๆ ใช่ครับโดยการศึกษาเน้นถึงการหัวเราะ และ การมีจิตใจที่แจ่มใส่กับการเพิ่มของระบบภูมิคุ้มกันของเรา กับเด็กที่เป็นมะเร็งและมีเชื้อ HIV เห็นได้ชัดเลยว่าเด็กในกลุ่มที่ควบคุม คือเด็กที่ได้รับการ entertain หรือหัวเราะน้อยกว่ามีระดับของภูมิคุ้มกันต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง ซึ่งได้ดู cartoon ทีวี และก็หนัง เพราะฉนั้นเราลองมาอารมณ์ดีให้กับคนในบ้านกันก่อนดีไหมครับ จากนั้นก็ค่อยเริ่มที่คนที่เราไม่รู้จัก เพื่อภูมิคุ้มกันเราไงครับ ภาวะความเครียด การนอนพักผ่อนอย่างไม่เพียงพอ และ การไม่ออกกำลังกายอย่างพอเพียง (ไม่มากจนเกินไปน่ะครับ) ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันเราลดลงได้
Vitamin C เคยกล่าวไปแล้วว่านอกจากเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระแล้ว เจ้าวิตามินตัวนี้ยังช่วยในการ เพิ่มตัวของเม็ดเลือดขาว และ antibodies ที่ช่วยในการต่อสู้กับไวรัสที่มาโจมตีเซลล์ของเราอีกด้วย นอกจากนี้ วิตามินตัวนี้ยังช่วยป้องกันการจู่โจมของไวรัสต่อเซล์เราอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันเราจากโรคหัวใจอีกด้วยเพราะมันไปช่วยเพิ่ม cholesterol ที่ดีในร่างกายของเรา (HDL) ทั้งยังไม่ช่วยล้างหลอดเลือของเราให้ปราศจากไขมันที่ไปเกาะตามเส้นเลือดของเราด้วย วิตามินซียังช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่างๆอีกด้วย เช่นมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม อ่านแล้วก็ไม่ต้องรีบไปทานวิตามินซีเพิ่มน่ะครับ เพียงแต่พยายามให้อาหารทุกมื้อมีผลไม้ หรือผักที่มีวิตามินทุกมื้อดีกว่า จริงๆปริมาณเพียง 200 มิลลิกรัมก็เพียงพอในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของเราแล้วน่ะครับ อย่าพยายามทานวิตามินซีมากๆเพียงมื้อเดียวเพราะอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรเพราะวิตามินซีสามารถขับออกมาได้ทางปัสสาวะน่ะครับ อีกอย่างสำหรับผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ และ ดื่มเหล้าบอกเลยน่ะครับว่าเจ้าสองสิ่งเนี่ยมันไปทำลายวิตามินซีโดยตรงเลยน่ะครับ อย่าลืมน่ะครับ vitamin C 200 mg a day, take the doctor away
Vitamin E ถึงแม้ว่าคุณสมบัติการเพิ่มภูมิคุ้มกันของวิตามิน e อาจจะไม่เท่าวิตามินซีแต่อย่างไรก็ตามวิตามินซีก็มีคุณสมบัติในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเราน่ะครับ จริงๆแล้ววิตามิน e เนี่ยช่วย B-Cells ซึ่งก็เป็นระบบภูมิคุ้มกันตัวหนึ่งในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายของเรา การวิจัยของมหาวิทยาลัย Harvard ยังแสดงให้เห็นว่า การบริโภควิตามินยังช่วยสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจถึง 50% ได้อีกด้วย จริงเราก็ควรที่จะบริโภควิตามิน e 100-400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการไม่อกกำลังกาย การสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการที่ทำลายวิตามิน e อีกด้วย หยุดเหล้า บุหรี่แล้วมาบริโภควิตามินดีกันดีกว่า
แก้วไดอารี่ เว็บบอร์ด กระดาน
Carotenoid จาการวิจัยสาร Beta Carotene สามารถที่จะเพิ่ม natural killer cell และ helper T-cell ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดไวรัสได้โดยตรงเลยน่ะครับ นอกจากนั้นสาร Beta Carotene ยังสามารถกำจัดพวกอนุมูลอิสระอีกด้วย การบริโภค วิตามิน ซี และสาร Beta Carotene ถือว่าเป็นสารอาหารที่พี่ใหญ่ทั้งสามในการเพิ่มภูมิคุ้มกัน และ เป็นสาร ต่อต้านอนุมูลอิสระที่วิเศษที่สุดที่พบในธรรมชาติ นอกจากนี้สาร Beta Carotene ยังช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า macrophages ซึ่งเป็นตัวผลิตสาร tumor necrosis factor ซึ่งเป็นสารสำคัญในการฆ่าเซลล์มะเร็ง อย่างที่บอกไปการบริโภคสาร Beta Carotene สามารถไปเพิ่มการผลิตของ T-Cell Lymphocytes และ Natural Killer Cell ซึ่งก็เป็นสารที่สำคัญในการฆ่าเชื้อดรคแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอีกด้วย


Bioflavenoids จากการวิจัยสาร Bioflavenoids ซึ่งเป็นสารในกลุ่มพวก phytonutrients ซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายเราน่ะครับ จริงก็เคยกล่าวไปแล้วว่า เจ้าสารตัวนี้มันไป block การเข้าจู่โจมของเซลล์ร่างกายของเรา นอกจากนี้มลพิษที่เราต้องได้รับอยู่ทุกๆวันก็สามารถที่จะป้องกันได้ โดยการบริโภคเจ้าสาร Bioflavenoids เข้าไป เช่นกันครับสาร Bioflavenoids ยังไปช่วยลดการเกาะตัวของไขมันตามผนังเลือดอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
สังกะสี จากการวิจัยพบว่าการบริโภคธาตุอาหารสังกะสียังสามารถที่จะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยการไปเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการกำจัดเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายของเรา อย่างไรก็ดีเราก็ควรจะบริโภคสังกะสีอยู่ในช่วง 15-25 มิลลิกรัม ซึ่งการบริโภคที่มากเกินไป (> 75มิลลิกรัมต่อวัน) สามารถเป็นผลร้ายได้คืออาจจะลดภูมิคุ้มกันของเราเองได้
ผล Noni เพื่อนๆอาจจะเคยได้ยินมาแล้วเกี่ยวกับน้ำของผลโนนิ ซึ่งตอนผมกลับไปเมืองไทยคราวที่แล้ว แถวบ้านผมก็เห็นมีน้ำโนนิขายเป็นกระป๋องแล้ว ซึ่งจากการวิจัยพบว่าประโยชน์ของน้ำโนนิเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารอาหารและวิตามินต่างๆ ในสมัยก่อนเราได้ใช้ผลและน้ำโนนิเป็นเครื่องประทินผิวอีกด้วย เร็วๆมานี่พบว่าในผลโนนิ มีสาร phytonutrients selenium และสาร xeronine ในปริมาณค่อนข้างสูงซึ่งสารเหล่านี้สามารถช่วยในการชลอความแก่ ต่อต้านสารเคมี และมลพิษต่างๆ ทั้งนี้สาร selenium ก็เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในธรรมชาติโดยเฉพาะผลโนนิ ส่วนสาร Xeronine ก็เป็นสารที่ช่วยในการช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ กระตุ้นการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆให้ทำงานตามปกติ ทั้งยังช่วยให้การทำงานของเอมไซม์ต่างๆในร่างกายทำงานอย่างเป็นปรกติอีกด้วย ทั้งสารนี้ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสต่างๆอีกด้วย การวิจัยพบว่าอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส ความเครียด ยังเป็นตัวทำให้สาร Xeronine ถูกทำลายลงซึ่งก็สามารถถูกจู่โจมจากเชื้อโรคอื่นๆได้ง่าย


สาหร่าย Spirulina การวิจัยพบว่าสาหร่ายชนิดนี้เป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ของสารอาหารและวิตามินต่างๆ รวมไปถึงกรดอะมิโนต่างๆอีกด้วย สาหร่าย Spirulina ถือว่าเป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีสาร phycocyanin ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงิน ไม่น่าแปลกใจใช่ไหมครับว่าทำไหมเราเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่าสาหร่ายสีเขียวแกมม่วง อย่างที่การวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าสาร Phycocyanin นอกจากจะเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระแล้ว สารนี้ยังช่วยต้านการติดเชื้อและแพร่พันธุ์ของไวรัสอีกด้วย การบริโภคสาหร่าย Spirulina สามารถที่จะป้องกันเราจากโรคต่างๆ รวมถึงการต้านเจ้าไวรัส HIV อีกด้วย

Tuesday, October 24, 2006

การรักษาโรคหัวใจ

หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ

กล้ามเนื้อหัวใจตาย

สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากแผ่นไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุนตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่ รับประทานยาลดไขมันในเลือดหากควบคุมอาหารไม่ได้ ผลดี ให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี

ความดันโลหิตสูง

สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง

หลักการรักษา : ควบคุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลดอาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง

หัวใจล้มเหลว

สาเหตุ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ / ลิ้นหัวใจรั่ว

สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูมาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจพิการ

สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้

โรคอ้วน

สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวาน กับ โรคหัวใจ

สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ

จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น

หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้ว การพยากรณ์โรคมักไม่ดี

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลียกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

ไขมันในเลือดสูง

สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด

จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ

หลักการรักษา : ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 130 (น้อยกว่า 100 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลียกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง

สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้ หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ

จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)

หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ

ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้